เช็คอาการหลังฉีดวัคซีน AstraZeneca แบบไหนต้องเฝ้าระวัง ! วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า เป็นวัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิดไวรัสเวกเตอร์ที่แบ่งตัวไม่ได้ หรือที่เรียกว่าวัคซีนเชื้อเป็น หลายคนจึงมีความกังวลเรื่องผลข้างเคียงของของวัคซีนชนิดนี้ โดยเฉพาะอาการลิ่มเลือดอุดตัน ทว่าเพื่อไม่ให้เป็นกังวลจนเกินไป
เช็คอาการหลังฉีดวัคซีน AstraZeneca แบบไหนต้องเฝ้าระวัง !
วันนี้เรามาดูกันค่ะว่าอาการหลังฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า มีอะไรบ้าง แบบไหนเป็นผลข้างเคียงที่ไม่รุนแรง และแบบไหนที่เสี่ยงอันตรายควรรีบพบแพทย์ ทันที
อาการหลังฉีดวัคซีน AstraZeneca ที่ไม่รุนแรง
- อาการกดเจ็บบริเวณที่ฉีด พบได้มากกว่า 60%
- อาการปวดตำแหน่งที่ฉีด ปวดศีรษะ และอ่อนเพลีย พบได้มากกว่า 50%
- อาการปวดกล้ามเนื้อ ครั่นเนื้อครั่นตัว พบได้มากกว่า 40%
- อาการไข้ หนาวสั่น พบได้มากกว่า 30% โดยอาการไข้มักจะพบในคนอายุน้อยกว่า 40 ปี เพราะร่างกายตอบสนองต่อวัคซีนได้ดีมากกว่าคนสูงอายุ ซึ่งไม่อันตราย และจะหายได้เองภายใน 1-2 วัน
- อาการปวดข้อ และคลื่นไส้ พบได้มากกว่า 20%
นอกจากนี้ยังมีอาการอื่น ๆ ที่อาจพบได้อีก เช่น
- อาการบวม แดง ร้อน บริเวณตำแหน่งที่ฉีด
- มีจ้ำเลือดไม่รุนแรง
- ผื่นแดงเล็กน้อย
- รู้สึกไม่สบายเนื้อไม่สบายตัว ไม่มีแรง
- มีอาการคล้ายไข้หวัด เจ็บคอ
- อาเจียนไม่เกิน 5 ครั้ง
ข้อแนะนำในการปฏิบัติตัว
1.สามารถกินยาพาราเซตามอล ขนาด 500 มิลลิกรัม จำนวนครั้งละ 1-2 เม็ด เพื่อบรรเทาอาการปวดหรืออาการไข้ได้ทุก 4-6 ชั่วโมง ตามความจำเป็น และดื่มน้ำเยอะ ๆ รวมไปถึงนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
2.หากมีอาการบวมแดงบริเวณจุดฉีดวัคซีน ให้ประคบเย็นบริเวณที่ปวดภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังฉีดวัคซีน โดยใช้เจลเย็นหรือผ้าชุบน้ำเย็นจัด ๆ ประคบ เพื่อลดอาการปวดบวม หลังจากนั้นเมื่อเวลาผ่านไปค่อยประคบอุ่น เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
3.ให้รักษาตามอาการหรือรอให้อาการดีขึ้น อาการมักหายได้เองใน 1-2 วัน หากอาการไม่ดีขึ้นหรือมีแนวโน้มจะรุนแรงขึ้น ควรรีบไปโรงพยาบาล หรือโทร. 1669 เพื่อรับบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน

อาการหลังฉีดวัคซีน AstraZeneca ที่พบได้น้อย
อาการไม่พึงประสงค์หลังฉีดวัคซีน AstraZeneca ที่พบได้น้อย ได้แก่
- ต่อมน้ำเหลืองโต (น้อยกว่า 1%)
- เบื่ออาหาร (น้อยกว่า 1%)
- มึนหรือเวียนศีรษะ (น้อยกว่า 1%)
- ปวดท้อง (น้อยกว่า 1%)
- เหงื่อออกมากผิดปกติ (น้อยกว่า 1%)
- มีผื่นคัน (น้อยกว่า 1%)
หากมีอาการหลายระบบร่วมกันดังต่อไปนี้อาจแสดงถึงภาวะแพ้รุนแรง (Anaphylaxis) คือ
- ระบบผิวหนังและเยื่อบุ เช่น อาการคัน ตัวแดง ผื่นลมพิษ ปากบวม หน้าบวม มีจุด (จ้ำ) เลือดจำนวนมาก
- ระบบทางเดินหายใจ เช่น อาการหอบเหนื่อย หายใจมีเสียงวี้ด หลอดลมตีบ คัดจมูก
- ระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น อาการเวียนศีรษะ วูบ หมดสติ ความดันต่ำ
- ระบบทางเดินอาหาร เช่น อาการคลื่นไส้ อาเจียนเกิน 5 ครั้ง ปวดท้อง ถ่ายเหลว
ข้อมูลวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า
- ชื่อวัคซีน : ChAdOx1 nCoV-19 vaccine (AZD1222)
- เทคนิคที่ใช้ผลิต : เป็นวัคซีนชนิดไวรัสเวกเตอร์ที่แบ่งตัวไม่ได้ โดยมีเชื้ออะดีโนไวรัส (Adenovirus) เป็นพาหะ
- ผู้ผลิต : มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด (Oxford University) ร่วมกับบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca)
- ต้องฉีดกี่โดส : 2 เข็ม ระยะห่างกัน 4-12 สัปดาห์ (กระทรวงสาธารณสุขแนะนำห่างกัน 10-12 สัปดาห์ และพิจารณาให้เลื่อนได้ถึง 16 สัปดาห์ ถ้าจำเป็น)
- ราคาวัคซีน AstraZeneca : 2.16-5.25 ดอลลาร์สหรัฐ/โดส (ประมาณ 66-160 บาท/โดส)
- ประสิทธิภาพ :
- ป้องกันการติดเชื้อรุนแรงที่ต้องนอนโรงพยาบาลหรือเสียชีวิต 100% (หลังฉีดเข็มแรก 22 วันไปแล้ว)
- จากการศึกษาการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในคนไทย พบว่าหลังฉีดเข็มแรก 30 วัน มีภูมิคุ้มกันถึง 96.7%
- อายุของผู้ได้รับวัคซีน : 18 ปีขึ้นไป
- การเก็บรักษา : สามารถเก็บไว้ได้ในอุณหภูมิตู้เย็น 2-8ºC
สำหรับใครที่มีความกังวลในการเดินทางไปฉีดวัคซีน ก็ลองหาข้อมูลเพื่อเป็นการป้องกันการแพ้ ในระยะเริ่มต้น และสามารถป้องกันสิ่งที่อาจจะเกิดอันตรายต่อตัวเราได้เท่านั่นเองค่ะ
สัตว์เลี้ยงหอพัก น่ารักแถมไม่ส้รางความวุ่นวาย หลายคนที่อยู่คอนโด อยู่หอพัก แต่อยากมีเพื่อนคลายเหงา แต่อยากเลี้ยงสัตว์ จะเลี้ยงหมาเลี้ยงแมวก็ไม่ได้ เพราะกลัวส่งเสียงรบกวนข้างห้อง ทำยังไงดี ?
เรียนคณะไหนไม่ตกงาน ในยุคโควิด-19 การเรียนการศึกษาในปัจจุบันนั้นสำคัญมากๆ เพราะเป็นตัวชี้วัดที่เราเห็นได้อย่างชัดเจน เมื่อเด็กมีการศึกษา ก็ยิ่งจะช่วยในการนำพาประเทศ สู่ความเจริญรุ่งเรือง มีทักษะมีความคิดเป็นของตัวเอง ด้วยเห็นนี้เราจึงเล็งเห็นว่าการที่หลายคนได้รับการศึกษาที่ดี จะเป็นประโยชน์แก่ตัวเราเอง