
ความรู้สึกของสัตว์ที่เหมือนมนุษย์
1. ความรู้สึกถึงความยุติธรรม
นักวิทยาศาสตร์ ด้านชีววิทยาวิวัฒนาการ ด้านพฤติกรรม และด้านสมอง พบว่า ระบบประสาทของคนเรา มีความคล้ายคลึงกับสัตว์บางชนิด อย่างน่าทึ่ง โดยเฉพาะสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ชนิดอื่น ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า อารมณ์ความรู้สึกบางอย่าง ที่มักคิดว่าเกิดขึ้นเฉพาะในมนุษย์ เพียงอย่างเดียว แต่ในความจริงแล้วกลับไม่ได้เป็นเช่นนั้น นี่คือ 5 ตัวอย่างอารมณ์ ที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งถูกพูดถึงในหนังสือเรื่อง The Emotional Intelligence of Animals (ความฉลาดทางอารมณ์ของสัตว์) ของ ดร. ปาโบล เฮอร์เรรอส ผู้เชี่ยวชาญด้านไพรเมตวิทยา และมานุษยวิทยา

ความรู้สึกของสัตว์ที่เหมือนมนุษย์ คนส่วนใหญ่สามารถรับรู้ได้ ถึงความยุติธรรม และความอยุติธรรม เช่นเดียวกับลิงคาปูชิน งานวิจัยจากศูนย์ไพรเมตเยอร์คีส์ ในเมืองแอตแลนตา ของสหรัฐฯ พบว่า ลิงพันธุ์นี้ จะไม่ยอมให้ความร่วมมือ เวลาที่พวกมันรู้สึกว่าได้รับการปฏิบัติ อย่างไม่เป็นธรรม นักวิจัยศึกษาเรื่องนี้โดย ให้แตงกวากับลิงคาปูชินกลุ่มหนึ่ง เพื่อให้ลิงมอบเหรียญพลาสติกเป็นการตอบแทน เมื่อลิงตัวอื่นเห็นเช่นนั้น พวกมันจึงหยุดให้ความร่วมมือในการทดลองทันที แถมบางตัวยังแสดงอาการไม่พอใจ ด้วยการเขวี้ยงแตงกว่าใส่มนุษย์ด้วย
2. ความรู้สึกอยากแก้แค้น

มนุษย์แทบทุกคน คงจะมีความรู้สึกอยากแก้แค้น ขึ้นในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต แต่เหตุใดสัตว์บางชนิด จึงมีความรู้สึกแบบนี้ด้วย เมื่อปี 2016 โขลงช้างป่าบุกเข้าเมืองรานชี ทางภาคตะวันออก ของอินเดีย ทำให้ชาวเมืองต้องหนีตายกันจ้าละหวั่น ช้างโขลงนี้ต่างมองหาศพของช้างเพศเมียตัวหนึ่งที่ตาย หลังจากพลัดตกลงไปในคลองชลประทาน สัตว์หลายชนิดยังแสดงออกถึงความแค้นใจ และความพยาบาทคนเลี้ยง ที่มีความโหดร้ายด้วย นอกจากนี้ ลิงชิมแปนซี ยังรู้ด้วยว่าใครเป็นมิตร และใครคือศัตรู และหากคู่อริทำร้ายเพื่อนของมัน ก็จะมีการแก้แค้นเกิดขึ้น
3. ความรักของแม่

มนุษย์มักมีความรัก และการปกป้องลูกน้อย แต่สัตว์ชนิดอื่น ก็สามารถแสดงออกถึงสายใยรักระหว่างแม่ และลูกได้ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน คริสตินา ลิงชิมแปนซีเพศเมียจากแทนซาเนีย คือหนึ่งตัวอย่างของสัตว์ ที่แสดงออกถึงความรักอันยิ่งใหญ่ ที่มีให้ลูกน้อยของมัน ซึ่งเกิดมาพร้อมกับอาการดาวน์ซินโดรม และโรคไส้เลื่อนจนทำให้มันไม่สามารถลุกขึ้นยืนเองได้
ทีมนักวิจัย จากมหาวิทยาลัยโตเกียว เฝ้าสังเกตพฤติกรรมของคริสตินา และ พบว่า มันจะหยุดจากการกินอาหาร เพื่อดูแลลูกน้อยของมัน และมันจะไม่ยอม ให้ใครอุ้มลูกของมัน ราวกับรู้ว่าไม่มีใครดูแลลูกได้ดีเท่าตัวมันเอง แต่ในที่สุดลูกสาวตัวน้อยของคริสตินา ก็ตายลงตอนอายุ 2 ขวบ ดร. เฮอร์เรรอส ยังเขียนเกี่ยวกับแม่ช้าง และลูกน้อย ที่พลัดพรากจากกัน หลังจากลูกช้างถูกขโมยไปฝึก เพื่อให้บริการนักท่องเที่ยวในประเทศไทย 3 ปี ต่อมา กลุ่มนักอนุรักษ์ได้ตามหาลูกช้างจนเจอแล้ว ช่วยนำมันกลับไปหาแม่ที่อยู่ในศูนย์อนุรักษ์แห่งหนึ่ง เมื่อพบหน้ากันพวกมันยืนนิ่งอยู่ 1 ชั่วโมง ก่อนที่จะค่อยๆ ใช้งวงลูบสัมผัสกันและกัน อย่างอ่อนโยน
4. อกหัก

การอกหัก และสูญเสียคู่รัก อาจสร้างความเจ็บปวดใจแสนสาหัสให้แก่มนุษย์ นกแก้วมาคอว์ ซึ่งมีคู่ครองเดียวตลอดชีวิต ก็มีความรู้สึกอกหักได้อย่างรุนแรง ไม่แพ้กัน โดยหากนกตัวใดตัวหนึ่งตายลงกะทันหัน อีกตัวจะไม่สามารถทนรับความสูญเสียได้ และมักมีอาการตรอมใจ ไม่ยอมกินอาหาร จนร่างกายอ่อนแอลง บางตัวร่างกายอ่อนแอจนไม่มีแรงเกาะรังที่หน้าผา แล้วร่วงลงสู่ก้นเหวเบื้องล่าง นี่อาจเป็นรูปแบบหนึ่งในการฆ่าตัวตาย เพราะความรักของสัตว์ก็เป็นได้
5. ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจและการปลอบประโลมกัน

มนุษย์มีความสามารถในการปลอบโยนและมีความเห็นอกเห็นใจให้กันและกัน งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Science เมื่อปี 2016 พบว่า หนูนาแพรรี (Prairie vole) จะปลอบประโลมหนูตัวอื่น ที่มีอาการเครียด ซึ่งเป็นการค้นพบที่นักวิจัยบอกว่า เป็นหลักฐานแสดงให้เห็น ถึงความรู้สึกเห็นอกเห็นใจกัน
ในการทดลองนี้ นักวิจัยจะแยกหนูสองตัวออกจากกัน แล้วใช้ไฟฟ้าช็อตเบาๆ หนูตัวหนึ่ง จากนั้นเมื่อจับหนูทั้งสองกลับมาอยู่ด้วยกัน หนูตัวที่ไม่ถูกไฟช็อต จะช่วยบรรเทาความรู้สึกไม่สบายตัวให้หนูอีกตัว ด้วยการเลียเป็นระยะเวลานานกว่าปกติ เมื่อเทียบกับหนูอีกคู่ ที่ถูกจับแยกแต่ไม่ได้ถูกช็อตไฟฟ้า
ทีมนักวิจัยบอกว่า นี่เป็นการแสดงความรัก ที่ช่วยกระตุ้นให้สมองของหนู ที่มีอาการเครียดได้หลั่งสารออกซิโทซิน (oxytocin) หรือที่เรียกว่า “ฮอร์โมนแห่งความรัก” ออกมา ซึ่งจะช่วยให้มันรู้สึกดีขึ้น นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยอื่นที่พบว่าลิงชิมแปนซี จะช่วยปลอบโยนลิงที่ถูกตัวอื่นแสดงอาการก้าวร้าวใส่ เช่นเดียวกับโลมา ช้าง และ สุนัข ก็แสดงพฤติกรรมลักษณะเดียวกัน
ติดตามสัตว์โลกน่ารู้ ได้ที่ animalknow : สนับสนุนโดย slotxo